สิ่งที่นักบรรพชีวินวิทยาสงสัยมาโดยตลอดเกี่ยวกับไดโนเสาร์วงศ์แฮดโดรซอร์ (Hadrosaurs) หรือไดโนเสาร์ปากเป็ด ที่มีน้ำหนักมากกว่า 3,600 กิโลกรัม จัดเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ว่าโครงกระดูกของไดโนเสาร์ 4 ขากินพืช และมีคอยาวมากเหล่านี้ แบกรับน้ำหนักตัวอย่างมหาศาลได้อย่างไร
ล่าสุด มีงานวิจัยใหม่จากทีมวิจัยที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักบรรพชีวินวิทยา วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรชีวเวช จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น เมธอดิสต์ ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ศึกษาโครงสร้างกระดูกแฮดโดรซอร์และไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ถึงความสามารถในการรองรับน้ำหนักจำนวนมาก โดยมุ่งเน้นที่โครงสร้างของกระดูกเนื้อโปร่งหรือกระดูกที่มีลักษณะพรุนคล้ายฟองน้ำที่ก่อตัวภายในกระดูก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะภายในของไดโนเสาร์ ทีมอธิบายว่ากระดูกเนื้อโปร่งของไดโนเสาร์นั้นต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก เพราะกระดูกเนื้อโปร่งจะไม่เพิ่มความหนาเมื่อขนาดตัวของไดโนเสาร์เพิ่มขึ้น แต่กลับเพิ่มความหนาแน่นของการเกิดกระดูกพรุน ดังนั้น หากไม่มีการปรับตัวเพื่อลดน้ำหนักนี้โครงสร้างโครงกระดูกที่จำเป็นต่อการรองรับของแฮดโดรซอร์ ก็จะทำให้ไดโนเสาร์มีปัญหาในการเคลื่อนที่
ทีมเผยว่าการเข้าใจกลไกของการออกแบบกระดูกเนื้อโปร่งของไดโนเสาร์ อาจช่วยให้นักบรรพชีวินวิทยาเข้าใจถึงการออกแบบโครงสร้างกระดูกของไดโนเสาร์ทั้งเรื่องของน้ำหนักและความหนาแน่นอื่นๆได้ดีขึ้น.
Credit : Southern Methodist University
อ่านเพิ่มเติม...
August 31, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/2GdxVnJ
วิเคราะห์การแบกรับน้ำหนักของไดโนเสาร์ปากเป็ด ที่หนักถึง 3,600 กิโลกรัม - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2zlCrwM
Home To Blog
No comments:
Post a Comment